E.G.PE

Each Piece is available
Transparent Film only - 3,960 THB
With Lightbox Frame - 10,720 THB

งานชุดนี้เป็นงานชุดที่ต่อเนื่องมาจากงานชุดก่อนที่ E.G.PE. สร้างขึ้นมาเป็นงานศิลปะนามอธรรมคู่ขนานวิจัยของ มาซารุ อิโมโตะ ที่เสนอว่าจิตสำนึกของมนุษย์สามารถส่งผลให้กับโครงสร้างโมเลกุลของน้ำ

เงาสะท้อนของดวงจันทร์บนผืนน้ำถูกใช้เป็นการเตือนพวกเราคอยให้มองทบทวนตัวเอง ในงานชุดนี้ E.G.PE. ทบทวนเหตุการที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ของชีวิตในบทความและสร้างงานศิลปะนามอธรรมควบคู่กับบทความ

This series of work is a development from E.G.PE.’s previous series which developed an artistic counterpart upon the work of Masaru Emoto where he proposed that human consciousness could affect the molecular structure of water, thereby portraying the structure of water conceptually.

The moon’s reflection on the water is a well-known analogy in the East to remind us to reflect on our own selves. In this [ between (us) ] series, E.G.PE. applies this practice and documents his realisations through his journal that is accompanied by ten pieces of artwork.

 

Journal (บทความ)

[ between (us) ]

[ ระหว่าง (ตัวเรา) ]

ตลอดระยะเวลาชีวิตคนเรากว่า 20,000 วัน ซึ่งฟังแล้วมันอาจจะดูเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก แต่มันก็เพียงพอให้เราได้จดจำสิ่งต่างๆ มากมาย หรือหลงลืมอะไรบางอย่างโดยที่เราไม่ต้องพยายามแม้แต่นิดเดียว 

ในระหว่างทางตลอด 20,000 วัน ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น มันไม่ได้มีสิ่งที่ดีงามราบรื่นเพียงอย่างเดียว เรามักจะได้เจอกับสิ่งไม่เป็นใจ ไม่พึงประสงค์ หรือแม้แต่เรื่องไม่คาดคิดปะปนอยู่ด้วย โดยที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราอาจจะหลีกเลี่ยง หลบเร้นจากสิ่งเหล่านี้ได้ แต่มันก็มีบางสิ่งที่หลงเหลือให้เรายังคงต้องมามองย้อนกลับไป ดังเช่นสถานการณ์โควิดที่จู่โจมไปทั่วบ้านทั่วเมืองตอนนี้ ใช่ หรือ ไม่?

‘ระหว่าง (ตัวเรา)’ จึงเป็นเรื่องราวหนึ่ง มองกลังไป ณ จุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง ไปสู่จุดหมายที่เราทุกๆ คนต้องไปถึง มันอาจจะไม่ใช่จุดสิ้นสุดหรือ เป็นปลายทางของใครคนหนึ่งที่เราผ่านไปพบเจอ คำตอบอาจไม่ได้อยู่ที่ผม แต่อยู่กับคุณผมู่ผ่านมา ใช้เวลาอันน้อยนิดหยุดมองจากมุมๆ นี้ ว่าคุณมองเห็นหรือระลึกได้ถึงสิ่งใด

[ ความอ่อนแอ - ชีวิต ]

มันคือความจริงที่ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความแข็งแกร่งตั้งแต่แรก ทุกชีวิตต่างเกิดมาพร้อมกับความอ่อนแอและความจำเป็นต้องรีบยืนหยัดที่จะอยู่รอด และแน่นอนคงแทบไม่มีใครหลุดพ้นจากสภาพความตายไปพร้อมกับความอ่อนแอเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าความอ่อนแอคือสิ่งที่อยู่คู่กับชีวิตเราตั้งแต่เกิดจนวันตายไม่ว่าจะกรณีใดๆ มันเป็นเรื่องธรรมดามากๆที่ทุกคนพยายามสลัดความอ่อนแอที่ติดตามตัวเรามานั้นทิ้ง กลายเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ อาจจนถึงขั้นรังเกียจรังกลัวกันเลยทีเดียว

แต่สิ่งที่เราอาจลืมตระหนักว่าความอ่อนแอคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีคุณค่า ผลักดันให้เราตระหนักถึงสิ่งที่ตัวเองเป็น เหมือนอย่างที่เราโดนด่าว่าโง่เราคงไม่พยายามศึกษาเรียนรู้ ทำตัวแข็งกร้าวเพื่อไม่ให้ใครจับได้ว่าเราอ่อนไหว หรือแม้แต่การอยู่กับคนที่เหมือนกับตัวเองเพื่อกลบฝังความโดดเดี่ยว นี่ยังไม่รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตที่พร้อมทำให้ความอ่อนแอจ้องเล่นงานเราอีก ความอ่อนแอจึงเป็นมิตรและศัตรูชั่วชีวิตที่สร้างจุดหมายให้เรายังคงก้าวเดินต่อไป

ดังนั้นมันอาจจะไม่ดูแย่นักที่หรอกที่จะทำความรู้จักความอ่อนแอของตัวเอง ไม่ใช่เพียงเพราะทุกๆคนมี หรือเพียงเพื่อให้เราตระหนักถึงสิ่งที่ตัวเองเป็น แต่สิ่งเหล่านี้บอกได้ว่า ถึงชีวิตนี้มันจะไม่ได้ง่ายดายเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่มันก็คงไม่ยากเกินไปที่จะใช้ชีวิต ในสังคมที่แสนจะสับสนวุ่นวายนี้

“เพราะความอ่อนแอ...ทำให้ชีวิตยังคงสวยงาม”

[ การยอมรับ - น้อมรับ ]

แม้เลือกจะอยู่ตัวคนเดียว นี่ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครปรารถนา...อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่แม้เพียงกับตัวเอง การยอมรับก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกๆคนต้องการ มันไม่เพียงเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราก้าวผ่านความอ่อนแอ แต่การยอมรับจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งนึงที่ทำให้เรายังคงยืนหยัดในสิ่งที่เราเป็น ทว่าการยอมรับที่คนส่วนใหญ่นั้นสามารถรับรู้ได้ ก็ไม่ต่างอะไรจากเครื่องคัดกรองสิ่งต่างๆ และคอยแบ่งแยกคนแต่ละคนออกจากกัน ซึ่งนั่นมันรวมไปถึงค่านิยม ดี-ชั่ว บวก-ลบ ขาว-ดำ ใช่...การยอมรับเหล่านี้มันหลอมรวมไปกับความเชื่อ และความแตกต่างทางสังคมไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่เดิมยอมรับก็ไม่ใช่เครื่องคัดกรองคุณภาพมาตราฐานการผลิตแต่อย่างใด หากลดเรื่องของการคัดแยกลงมาซักนิด จะเห็นว่า การยอมรับ มันเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นความแตกต่างของแต่ละบุคคลเพียงเท่านั้น ดังนั้นแม้แต่กับตัวเอง การยอมรับทำให้เราเห็นถึงความอ่อนแอ ความแข็งแกร่ง และสิ่งต่างๆที่แบ่งแยกเราออกจากบุคคลรอบข้าง การยอมรับจึงเป็นเครื่องมือให้เราทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆรอบตัวเราซะมากกว่าไม่ใช่หรือ?

นอกจากนี้การยอมรับยังโยงใยไปถึงการน้อมรับอีกด้วย หากมองมันอย่างที่มันเป็นซักนิด การยอมรับก็นำพาให้เราได้เห็นสิ่งที่เรายังคงเหมือนๆกับผู้คนอีกมากมาย มันคือสิ่งที่นำพาให้คนเราเชื่อมต่อกันในทางใดก็ทางหนึ่ง ไปพบกับสิ่งที่เราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ ทำให้เราเข้าใจถึงความปรารถนาของสิ่งต่างๆรอบตัวเรา และทำให้เราเรียนรู้ที่จะโยนเครื่องคัดกรองคุณภาพมาตราฐานตัวเราทิ้งลงไปบ้าง

“มันก็แค่เรื่องง่ายๆไม่ต่างอะไรจากการจับมือกันเลย”

[ ความเชื่อ - เชื่อมั่น ]

มันอาจจะฟังดูยากสำหรับใครหลายๆคน และอาจจะเป็นเรื่องที่ง่ายดายหลังจากที่เราเข้าใจ เพราะไม่มากก็น้อยทุกๆคนก็จะมีข้อกังขาด้วยกันทั้งนั้น หากมีคนมาบอกให้เราเชื่อมั่นในตัวเอง และมันคงจะพิลึกๆหากบอกให้เชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพราะความเชื่อไม่มีรูปร่าง แถมจะสัมผัสหรือจับต้องก็ไม่ได้อีกต่างหาก ไม่ได้ออกลูกเป็นตัว หรือเป็นไข่ แต่กลับแพร่กระจายมาถึงตัวเราและไปสู่ทุกๆคน...แปลกดีเนอะ

แต่สิ่งที่ไม่น่าเชื่อมันก็เกิดขึ้นเพราะความเชื่อเนี่ยแหละ เพราะความเชื่อไม่เคยบอกให้เราเชื่อและทำตามเลยซักครั้ง มันคือความน่าจะเป็นที่คอยตั้งคำถามกับส่วนลึกของเรา ให้เราสงสัย และออกไปหาคำตอบ มันไม่ใช่คำตอบในตัวเอง แต่ที่ให้เรารู้ได้ว่าเราต้องการอะไร ทำความเข้าใจและผลักดันให้เรามองเห็นสิ่งที่ตัวเองเป็น

ด้วยความน่าสงสัย และไม่แน่นอนสุดๆของความเชื่อเนี่ยแหละ ไม่ต้องแปลกใจที่ไม่มีใครเชื่อหรือมองเห็นสิ่งเดียวกันในมุมมองที่เหมือนกันเลย มันอาจจะถึงเวลาแล้วก็ได้ที่เราจะเลิกตามกันโดยไม่สงสัยอะไรเลย เลิกปฏิเสธและตีกรอบสิ่งต่างๆโดยทำเป็นว่าเราไม่รู้ไม่เห็น พร้อมกลับมาถามตัวเองว่า ตัวเราคิด รู้สึกยังไงบนความไม่แน่นอนทั้งหลายทั้งปวงนี้

“เพราะมีแต่ตัวเราเองนั่นแหละที่จะตอบตัวเราเองได้ ว่าจะเชื่อ...หรือไม่เชื่อ”

[ ปรกติ - ปาฎิหาริย์ ]

หากมองไปในความผิดแผกแตกต่างแล้ว อีกความสงสัยที่ผุดขึ้นมาคงหนีไม่พ้นแล้วความเป็นปรกติคืออะไร? 

ถ้ามองกลับมาที่ความหมาย ‘ปรกติ คือ ธรรมดา เป็นไปตามเคย ไม่แปลกไปจากธรรมดา’ เหมือนพระอาทิตย์ย่อมขึ้นในเวลากลางวันและตกในเวลากลางคืนเสมอ, น้ำย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หรือแม้แต่คนเราต้องขยันและอดทนจึงจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จตามครรลองของสังคม

ทว่าเรามักจะลืมไปว่า ทุกๆความปรกตินั้นมีขอบเขตของมันอยู่เสมอ ขอบเขตหล่านี้คอยตีกรอบให้ความเป็นจริงที่เรายึดถือ ว่ามันเป็นความปรกติ ยังคงเป็นปรกติอย่างที่เรายังคงเชื่อมั่น กลับกัน ถ้าความปรกติเหล่านี้อยู่เหนือขอบเขต ความปรกตินั้นย่อมไม่เป็นจริงเสมอไป เหมือน พระอาทิตย์เที่ยงคืน, มวลน้ำในอวกาศ, คนขยันและอดทนกลับไม่เจริญรุ่งเรืองเมื่ออยู่ในโลกที่มีการประจบเอาใจและเสน่หามีผลเหนือกว่า

เราอาจมองความปรกติเป็น ‘ปาฎิหาริย์’ อย่างนึงได้ แต่ต้องไม่ลืมมองขอบเขตของมัน พร้อมละวางหากเห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงไปในสักวัน หากทำได้ สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือเราที่พร้อมจะปรับตัวตามสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตของเรานั้น

‘เพราะความเปลี่ยนแปลง คือความปรกติที่จีรังยั่งยืนที่สุดในโลก’

[ อัตรา - อัตตา ]

แม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่จำต้องหยุดนิ่ง เรามักจะเห็นสิ่งรอบๆ ตัวต่างพยายามผลักดันให้ตัวเองยังสามารถมุ่งไปต่อและใช้ชีวิตดังเช่นปรกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คำถามที่ย้อนกลับมาคือผิดมั้ยที่เรายังหยุดนิ่งอยู่ ณ จุดนี้

อาจจะไม่ใช่ทุกๆ คนที่จะใช้ชีวิตเพื่อตามหาตัวตน นำตัวเองไปอยู่ ณ จุดที่ดีที่สุด พอใจที่สุด หรือแม้แต่สบายที่สุด แม้จะไม่ใช่ความปรารถนา แต่ความพยายามของคนเราก็จะนำพาไปสู่ สิ่งที่ดีที่สุด ของเรา โดยไม่รู้ตัว ไม่จำเป็นต้องเห็นได้ชัด แต่เราทุกคนเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยอัตราเร่งที่ไม่เท่ากันเสมอ

อีกนัยหนึ่งถึงการผลักดันจะไม่ได้นำพาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด แต่มันก็เป็นแรงปรารถนาให้ทุกอย่างยังคงเป็นปรกติดังที่กล่าวมาก็เป็นได้เช่นกัน อาจเป็นการแสดงออกให้เห็นว่ายังคงสบายดี โดยที่เราอาจไม่เคยเห็นเบื้องหลังของเหล่าผู้อยู่ดีมีสุขเหล่านี้เลยว่าเขาพยายามมากขนาดไหน ให้มีชีวิตปรกติ

พอได้พิจารณากันดีๆ แล้ว สิ่งที่แสดงออกมา ไม่ว่าจะพุ่งสุด หรือทำตัวปรกติตามสบาย ต่างก็มีอัตราของอัตตาที่แทบไม่ต่างกันเลย การหยุดนิ่งและมองดูความพยายามดังกล่าวโดยไร้ซึ่งอคติ มันอาจจะเป็นพลังให้เราพยายามในแบบของตัวเองมากขึ้นก็เป็นได้

ดังนั้นลองมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามั่งจะดีกกว่ามั้ย ‘แต่ละคนก็พยายามอยู่ในแบบของตัวเองนั่นแหละ’

[ กระแส - ทางเลือก ]

ตราบเท่าที่เวลายังเดินไปข้างหน้า ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ย่อมผ่านหูผ่านตาเข้ามาในชีวิตเราเสมอ แม้เราจะไม่ได้ทำอะไร เรามักจะถูกพัดพาไปตามกระแสและกลืนหายไปในเกลียวคลื่นของวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น?

อย่าลืมว่าไม่ใช่พระอิฐพระปูน เรายังเป็นมนุษย์ ที่ยังคงรู้ร้อนรู้หนาว ความเป็นเป็นสัตว์สังคมมันบังคับให้ต้องใหลไปตามสภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัว ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงปิดหูปิดตาอะไรที่เกิดขึ้นไปแล้วมันก็ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้ มีเพียงเราที่จะเลือกว่าจะยอมให้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามากลืนเราไปกับเกลียวคลื่น ยืนหยัดแข็งขืนหรือหาทางปรับตัวไปตามอุบัติการเหล่านั้น

ยังไงซะ การตัดสินใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แบบทดสอบ ถูกหรือผิด ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวเพียงวิธีเดียว ไม่ว่าจะยอมกลมกลืน ถูกกลืน หรือปลีกวิเวก เราก็ยังคงมีชีวิตโดยที่กระแสความเปลี่ยนแปลงย่อมเข้ามาและผ่านพ้นไป 

คนที่ให้คำตอบได้ คงไม่มีใครดีไปกว่าตัวเราที่อยู่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องตอบตัวเองดังๆ เพียงแค่ทำในสิ่งที่เชื่อและเชื่อในสิ่งที่ทำ มันก็อาจเพียงพอให้เราพร้อมเดินหน้าไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดๆ ใช่หรือไม่

‘เพราะถึงจะเวลาสอนให้เราปรับตัว แต่อาจจะมีไม่มากพอให้เรามัวแต่นั่งครุ่นคิดเสมอไป’

[ สิ่งที่เห็น - ความเป็นไปได้ ]

เคยบ้างมั้ยที่จะโดนตั้งคำถามกับวิ่งที่ชอบ เหมือนกับคำถามพิลึกๆ เช่นว่า ทำอาหารเก่งนักทำไมไม่เป็นพ่อครัวไปเลยล่ะ, เล่นเกมส์เเทพนักก็ไปสร้างเกมส์สิ หรือแม้แต่ ชอบนักก็แต่งกันไปเลยซะสิ โดยที่เราเองก็จะนึกในใจว่าอะไรกันนักกันหนา 

จะสังเกตได้ว่าคำถามเหล่านี้มักเกิดจากคนรอบข้าง บางครั้งก็เป็นพ่อ แม่ แม้แต่เพื่อนสนิท โดยมาจากสิ่งที่พวกเขาเห็นในชีวิตประจำวันและการแสดงออกของเราทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งคำถามเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความต้องการก่อกวน หรือเจตนาทำให้เราไข้วเขวจากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่แต่อย่างใด

ทั้งนี้แม้เป็นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่สิ่งที่พวกเขาเห็นมันคือความเป็นไปได้ที่มีอยู่ในตัวคนๆ หนึ่งที่เขาใกล้ชิด และยอมรับสิ่งที่เรามีในด้านนั้นๆ อย่าลืมว่าในฐานะที่เราเป็น คนๆ หนึ่ง เรามีความเป็นไปได้ที่ไม่จำกัดแฝงอยู่ในตัวเรา ไม่ว่าจะดีหรือร้าย ดังนั้นเวลาถูกมองเห็นความสามารถ พรสวรรค์ หรือด้านดีที่ผู้คนยอมรับ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นความเป็นไปได้ในอนาคตของเรา หรืออาจจะเป็นเสี้ยวหนึ่งที่ทำให้พวกเขาต้องอิจฉาในสิ่งที่เรามีก็เป็นได้

มันอาจจะดูน่ารำคาญก็เถอะ แต่จงจำไว้ว่า เขายอมรับความเป็นไปได้ที่เรามีจนต้องถามออกมาตรงๆ

 

[ สิ่งที่เป็น - ความปรารถนา ]

อีกหนึ่งความธรรมดาคือ คนเรามักจะเปรียบเทียบตัวเองกับสิ่งที่อยู่รอบๆ เสมอ นั่นเป็นเหตุให้เรามีความปรารถนา ไม่ว่าจะได้รับหรือปฏิเสธ ซึ่งเกิดจากมุมเล็กๆในใจของเราที่บอกกับตัวเองเสมอว่า ‘เราไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเราเป็น’

อาจจะบอกไม่ได้ว่าความไม่พอใจนี้เป็นสิ่งไม่ดี ตราบที่เรายังรับรู้ถึงความไม่พอใจในสิ่งที่เป็น ไม่มากก็น้อยมันก็เป็นปัจจัยให้เรายังคงใช้ชีวิตเหมือนเวลาที่หายใจเข้า ยังไงเราก็ย่อมต้องการหายใจออก และร่างกายเราคงไม่ได้อยากจะหายใจเข้าอย่างเดียวหรอกนะ ความปรารถนามันเลยเป็นแรงขับที่ทำให้เราเชื่อม

ต่อกับโลกรอบๆ ตัวเราเสมอบนพื้นฐานของความไม่มี ไม่เพียงพอ ไม่พอใจ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลขนาดไหนก็เถอะ

ลองมาดูในมุมใหญ่ๆกัน ก็จะยิ่งเห็นได้ชัดว่าความไม่มี ไม่เพียงพอ ไม่พอใจ กับสิ่งที่เป็นมันยิ่งชัดเจนขึ้น เพราะมันทำให้เป็นจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิต ความฝัน และความต้องการ ทำให้เราเปรียบเทียบ สิ่งที่มีสิ่งที่ขาด กับบุคคลรอบข้าง ไม่งั้นคงไม่มีใครโพสภาพความสุข หรือแม้แต่เขียนบ่นกันบนโลกโซเชียลดังเช่นทุกวันนี้หรอก

‘ลองมองความไม่พอใจเป็นเกียร์ และความปรารถนาเป็นพวงมาลัยดูสิ’ แล้วตั้งคำถามว่าเราจะขับยวดยานชีวิดลำนี้ไปหาอะไร

[ การรับรู้ - ภาพสะท้อน ]

แม้ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล เรายังคงมองโลกรอบตัวผ่านตัวตนของเราเองเสมอ

อาจจะไม่ใช่สุดมือคว้า แต่เรามีขอบเขตของจักรวาลรอบตัวเราที่สุดขอบการรับรู้ของเราจะไปถึงแต่เพียงเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดของการรับรู้ของเรานี้เองทำให้ตัวเราเป็นศูนย์กลางการเลือกและตัดสินใจ ในการกระทำต่างๆของเราเองเสมอ

ถึงอย่างนั้นขอบเขตการรับรู้ที่ว่าไม่ได้มีขีดจำกัดที่ตายตัว และบางครั้งบางคราวมันก็ไปทับซ้อนกับขอบเขตของสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เราเราจึงได้รับรู้การมีตัวตนของสิ่งอื่น และคนอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตการรับรู้ของเราเช่นกัน ไม่ว่าจะเกิดแรงขับเคลื่อนทางกายหรือใจก็ตาม มันทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับจักรวาลเล็กๆรอบตัวเราด้วย ดังนั้นถ้าหากตัวเราไม่ใช่จุดศูนย์กลาง แล้วจุดศูนย์กลางจักรวาลที่ว่าอยู่ตรงไหนกันล่ะ

หากกล่าวว่าจุดศูนย์กลางจักรวาลของเรามันขึ้นอยู่กับขอบเขตการรับรู้ของเราแล้ว ขอบเขตการรับรู้ที่สะท้อนภาพเดียวกันและมีร่วมกัน ก็คงเป็นตัวตนของจุดศูนย์กลางที่แท้จริง พูดง่ายๆก็คือสิ่งที่เรารับรู้และยอมรับร่วมกัน มันก่อเกิดเป็นจักรวาล ที่จะเห็นได้ว่า เรายืนอยู่ตรงไหนในการรับรู้ร่วมกันเหล่านั้น จะเข้าใกล้จุดศูนย์กลางขนาดไหนก็คงต้องขึ้นอยู่กับการดึงให้ตัวเราไปสะท้อนในขอบเขตการรับรู้ เหล่านั้นมากแค่ไหนเหมือนกัน ดังนั้นหากมองตัวเองว่า ‘เรา คือตัวตนที่สะท้อนตัวตนผ่านการรับรู้ตัวเรา’ แล้วตั้งคำถามต่อว่า ‘แล้วตัวตนของเราผ่านการรับรู้อะไรของสังคมรอบตัวเราล่ะ’

‘เราจะรับรู้ได้ว่าตัวเรานี่ช่างเล็กเหลือเกิน’

[ ระหว่าง - เรา ]

ข้อจำกัดของตัวเรา ไม่ว่าจะต้องเว้นระยะห่าง หรือ ใกล้ชิดกับสิ่งต่างๆรอบตัวเรามากขนาดไหน ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ถึงแม้จะเป็นจุดเล็กๆ ที่มีขอบเขตของตัวเองเพียงสุดขอบการรับรู้แต่เพียงเท่านั้น แต่ระหว่างการทับซ้อนนั้น เรายังคงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอ

ลองมองย้อนกลับไปดูที่ละจุด การรับรู้ของเราเป็นเหมือนภาพสะท้อนที่มีร่วมกับสิ่งอื่นเป็นภาพใหญ่ ในตัวตนเหล่านั้น ล้วนมีแรงขับเคลื่อนที่เรียกว่าอัตรา ที่ดึงดูดเข้าหากันด้วยความปรารถนาที่แต่ละคนสะท้อนออกมาผ่านความเป็นไปได้ แม้จะอ่อนแอ หรือต้องการการยอมรับ การรับรู้เหล่านั้นย่อมจะอยู่นานตราบเท่าที่ความเชื่อมั่นในสิ่งนั้นจะยังคงมีร่วมกันทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า จะปรับตัวอย่างไร ยอมถูกกลืนหาย หรือปรับตัวโดยรักษาตัวตนของเราเอาไว้ เพราะมันก็ยังคงเป็นความมหัสจรรย์ที่เกิดขึ้นบนความธรรมดาของชีวิตเรารูปแบบนึงนั่นเอง

นี่อาจะเป็นเพียงบทสรุปกว้างๆที่แสดงถึงการเชื่อมโยงของตัวเรากับสิ่งต่างๆรอบตัวเท่านั้น ดังเช่นที่บอกว่าช่วงชีวิต กว่า 20,000 วันที่เรามี เราอยู่ด้วยอะไร และเชื่อมโยงกับสิ่งใด หรืออาจเป็นกลใกให้เราปรับตัวของเราให้เข้ากับโลก และความเป็นไปของชีวิตนั่นเอง

‘ถึงเป็นเพียงจุดเล็กๆ ก็ขอจงภูมิใจที่ตัวเรายังคงมีชีวิต’

Part 2 - Mission On Wisdom
Expressive Art Therapy Workshop

🧠 3 ปัจจัยจิตวิทยาที่ทำให้คุณมองเห็น 👀 เข้าใจ 😌 และพิชิตอนาคต 💪 ถ้าคุณคิดว่า ‘ฉันได้แค่นี้เองเหรอ…’ 😔💭คุณคิดผิดมหันต์แล้ว 😱

มีรอบ 20 ส.ค., 3 ก.ย. และ 17 ก.ย.

by Mission On

เรียนรู้เพิ่มเติม

Part 3 - Timeless Truth
Conceptual Dining Experience

3-course conceptual dining experience inspired by the ancient Taoist wisdom that is even more relevant today

by 137 Pillars Suites & Residences

Learn More